วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ออกศึกษาประวัติศาสตร์นอกห้องเรียน (ประวัติศาสตร์ อโยธยา)


      
      
        เมื่อพูดถึงเรื่องของการเดินทางมันก็คือการที่เราได้ออกไปสู่โลกกว้างการได้เห็นมุมมองใหม่ๆที่ยังไม่เคยเห็นหรืออาจจะเคยได้สัมผัสมาแล้วในมุมมองหนึ่งแต่อีกมุมมองหนึ่งมันอาจจะแตกต่างกันก็ได้ทั้งนี้ผมคิดว่ามันขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคลว่าจะให้ความหมายของสิ่งที่เห็นนั้นเป็นแบบไหน  บางคนแค่มองผ่านๆตาพอให้รู้แค่ว่าสิ่งนั้นคืออะไรแล้วก็ผ่านไป  แต่บางคนอาจจะมองมันลึกก็นั้น  บางคนมองแล้วทำให้เกิดคำถามขึ้นมาในใจมากมาย ซึ่งการที่เราได้ออกเดินทางปรับเปลี่ยนบรรยากาศชีวิตในแบบใหม่ๆจากการที่จะต้องอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยมบางทีมันก็ทำให้เรารู้สึกเบื่อๆเซ็งๆในชีวิตจนไม่คิดอยากจะทำอะไรแต่ถ้าเมื่อเราได้จับกระเป๋าขึ้นบนบ่าแล้วออกเดินทางไปที่ไหนสักแห่งเบื่อที่จะมองหาสิ่งต่างๆรอบตัวทั้งที่เราเคยเห็นแต่ก็มีสิ่งที่เรายังไม่เคยได้เห็นได้สัมผัสด้วยตัวเองอีกมากมายที่กำลังรอคอยให้เราได้ไปเรียนรู้และไปสัมผัสมันเพราะการที่เราได้ไปสัมผัสในสถานที่จริงมันจะทำให้เราได้รับบางสิ่งที่มีคุณค่ากับชีวิตของเรา  นั้นก็คือประสบการณ์   ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนก็สามารถทำมันให้เกิดขึ้นได้แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะใฝ่ฝันหามัน รึเปล่าการที่เราแค่ได้ยินจากการบอกเล่าหรืออ่านดูจากหนังสือมันก็ไม่เท่ากับการที่เราไปสัมผัสด้วยตนเองในสถานที่จริง
        กระผมก็เป็นอีกคนที่รักการเดินทางมันเป็นสิ่งที่สร้างความสุขให้กระผมได้อีกรูปแบบหนึ่งโดยเฉพาะการเดินทางไปกับคนที่เรารัก  ไปกับเพื่อน พวกพ้องที่รู้ใจกัน  มันเหมือนเป็นการให้กำไลกับชีวิตเพราะได้ไปเห็นสิ่งใหม่ๆที่เรายังไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้สัมผัส ถือว่าเป็นการเรียนรู้นอกตำราอีกรูปแบบหนึ่งที่แสนจะคุ้มค่าที่ไม่ต้องมีคำอธิบายอะไรให้มันมากมายเราก็เข้าใจสิ่งที่พบเห็นได้โดยง่ายทุกครั้งที่ผมได้ออกเดินทางโดยเฉพาะการออกค่ายจัดกิจกรรมชมรมด้วยเหตุที่ผมเป็นประธานชมรมประวัติศาสตร์สัญจรด้วยจึงเป็นหน้าที่ที่จะต้อง จัดการพาสมาชิกชมรมออกค่ายท่องเที่ยวทัศนศึกษาในสถานที่ที่มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์บางสถานที่ที่จะไปก็มีความจำเป็นที่จะต้องไปดูหรือติดต่อกับทางสถานที่ก่อนจะพาสมาชิกไปตามวันที่กำหนดไว้กระผมถือว่าเป็นกำไลเพราะการที่เราได้ไปดูงานก่อนนั้นมันทำให้เราได้ท่องเที่ยวไปด้วยและเราก็ได้ไปเที่ยวในที่แห่งนั้นตั้งสองครั้งและเราก็รู้สถานที่มีข้อมูล เมื่อเพื่อนถามเราก็สามารถแนะนำต่อสมาชิกในชมรมได้


        วัดพนัญเชิง  ป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน ก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้างและพระราชทานนามว่า วัดเจ้าพนัญเชิงวรวิหาร   มีพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารนั้นชื่อ "พระเจ้าพนัญเชิง"  พอไปถึงสิ่งแรกที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนคือป้ายชื่อของวัด ซึ่งมันช่างเป็นสิ่งที่ใหญ่โตอลังการมากพอลงจากรถเราก็มุ่งหน้าเดินเข้าไปสักการะหลวงพ่อโตกันทันทีจากนั้นก็ถ่ายรูปรอบๆบริเวณวัดอ่านประวัติของวัด ชมพุทธศิลป์ในสมัยอยุธยา  ชมสองฝั่งของเกาะอยุธยาบริเวณริมแม่น้ำยังมี ตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมากก่อสร้างเป็นตึกแบบจีนเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมากในเครื่องแต่งกายแบบจีน ชาวจีนเรียกว่า "จูแซเนี๊ย" เป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนทั่วไป ใกล้กันมี วิหารเซียน เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้น ท้าวจตุรโลกบาล เทพผู้คุ้มครองทั้ง 12 นักษัตร และเทพเจ้าต่างๆอีกด้วย

   วัดใหญ่ชัยมงคลถือว่าเป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากที่สุดท่องเที่ยวนิยมมามากที่สุด           จุดสนใจของวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ คือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ชมเจดีย์ที่สูงที่สุดในอยุธยา ด้านหลังวัดมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามากราบไหว้ นอกจากนี้ บริเวณ รอบๆ ยังมีมีสวนหย่อมที่สวยงามให้พักผ่อนอีกด้วยนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเที่ยวอยุธยาจึงไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง  และเราก็ไม่พลาดที่จะเก็บภาพเจดีย์องใหญ่ไว้ ซึ่งทำให้ผมอดนึกถึงไม่ได้ว่าในสมันอยุธยารุ่งเรื่องขนาดไหนในดานเศรษฐกิจ การปกครอง  และศาสนาซึ่งแต่ล่ะวัดในอณาจักรอยุธยาเป็นวัดที่ยิ่งใหญ่ทั่งนั้นเลย  ผมได้มีโอกาสเดินขึ้นไปเยี่ยมชมด้านบนของพระเจดีย์ด้วยข้างในเจดีย์ เป็นบ่อลึกมีอะไรสักอย่างอยู่ข้างล่าง 

        อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา หรือเขตพระราชวังในสมัยนั้นนั่นเองทางเข้าอุทยานก็เป็นตลาดขายของอยู่เต็มสองข้างทาง  ก่อนเข้าอุทยานอาจารก็ได้บรรยายให้ข้อมูลกับนักศึกษาโชคดีเราไม่ได้เสียค่าเข้าชมอุทยานเพราะเรามี อาจารอรวรรณ  เป็นผู้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ให้ทำให้เราเข้าชมอุทยานได้ฟรี  เมื่อเดินเข้าไปในอุทยานทำให้ผมได้ซึมซับถึงความรุ่งเรื่องของอยุธยาจริงๆ (ถ้าไม่มาดูด้วยตาตัวเองไม่รู้นะเนี๊ยะ)มันชั่งยิ่งใหญ่จริงๆ นี่ขนาดผ่านมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้วยังเหลือซากให้เห็นที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ เลยทำให้ผมนึกถึงว่าถ้าตัวเองอยู่ในสมัยนั้นคงได้เห็นอยุธยาที่ยิ่งใหญ่อย่างสมบูรณ์จริงๆ คิดขึ้นมาแล้วอยากย้อนเวลากลับไปจริงๆ ขณะเดินชมอุทยาน อาจารย์สมคเน แผลงฤทธิ์ ก็ให้ข้อมูลอยู่เรื่อยๆ ซึ่งลักษณะการจัดวางผังเมืองของเขตพระราชวังมันช่างคล้ายคลึงกับวัดพระแก้วจริงๆ มีพระเจดีย์องค์ประจำพระมหากษัติรย์องค์ใหญ่ตั้งอยู่  จากนั้นเราก็เดินผ่านเขตวัดเข้าสู่เขตราชวังมีพระที่นั่งต่างๆ  และอาจารย์ก็พาไปยังจุดที่จะให้ข้อมูลโดยอาจารแนะนำว่าถาเราได้มีโอกาสพานักเรียนมาทัศนศึกษาเราก็ควรพาเด็กมายังจุดนี้แล้วก็พูดบรรยาย



       วิหารพระมงคลบพิตรตั้งอยู่ใกล้กับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ และพระราชวังโบราณ ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่นามว่า พระมงคลบพิตร หรือ พระพุทธสยมภูวญาณโมฬี พระพระพุทธรูปคู่เมืองของกรุงอยุธยามาแต่โบราณประวัติการสร้างพระมงคลบพิตรไม่แน่ชัดมีปรากฏในพงศาวดารว่า แต่เดิมองค์พระประดิษฐานอยู่การแจ้ง ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2153 ได้มีกาเคลื่อนย้ายองค์พระมาประดิษฐานทางด้านตะวันตก โดยสร้างพระมณฑปครอบองค์พระไว้ ภายหลังในรัชสมัยพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 พระมณฑปได้ถูกฟ้าผ่าจนเครื่องบนหลังคาเกิดไฟไหม้และทรุดตัวลงถูกองค์พระเสียหาย แต่ไม่ทันได้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระองค์ทรงสวรรคตลงเสียก่อน

      วัดมหาธาตุเป็นวัดที่เก่าแก่และมีประวัติที่ไม่ค่อยจะชัดเจน บางฉบับบอกว่า ในปี พ.ศ. 1917 บางฉบับก็บอก พ.ศ. 1927 ได้ใช้เวลาก่อสร้างไปเป็นจำนวนมาก

  

     ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระปรางค์เคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ปรางค์ของวัดนี้เดิมทีเดียวสร้างด้วยศิลาแลง แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดังเดิม ในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่ รวมเป็นความสูง 25 วา แต่ก็ได้พังทลายลงมาอีกรอบในรัชสมัยรัชกาลที่ และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำกำลังทหารไปช่วยกันสร้างยอดพระปรางค์ด้วยไม้สักชั้นเยี่ยมและได้สถาปนาให้เป็นพระปรางค์ประจำชาติ และในที่สุด พระปรางค์วัดมหาธาตุก็ยังคงอยู่ที่นั้นตลอดไป



      เจดีย์ภูเขาทองเป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ ในวัดภูเขาทองซึ่งตั้งอยู่บริเวณกลางทุ่งนา ในเขตเกาะเมือง ของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถเห็นได้แต่ไกลจากการสันนิฐานว่า คาดว่า เจดีย์ภูเขาทอง ได้สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร เมื่อปี พ.ศ. 1930 และเมื่อปี พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองแห่งเมืองหงสาวดี ได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ จึงได้สร้างพระเจดีย์ใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดนี้ เจดีย์ที่สร้างนี้เรียกว่า "ภูเขาทอง" และวัดที่อยู่ต้ดกับเจดีย์นี้ก็เรียกว่า "วัดภูเขาทอง"   ต่อมา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้ทำการปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ใหม่ เปลี่ยนรูปจากเจดีย์มอญเป็นรูปเจดีย์ย่อไม้สิบสองที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนั้น ส่วนฐานนั้นเป็นศิลปมอญอยู่  


        การศึกษาในครั้งนี้ทำให้ผมเกิดจิตสำนึกรักความเป็นไทยมากขึ้นและเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์ในทุกวันนี้เหลือแค่เพียงเรื่องเล่าเท่านั้นในขณะที่หลักฐานต่างๆเริ่มสูญหายไปโดยขาดการบูรณะและละเลยไม่เห็นความสำคัญของคนแล้วในอนาคตสืบทอดเรื่องราวเหล่านี้ให้กับคนรุ่นหลังได้อย่างไร   จากการเดินทางในครั้งนี้ได้เปลี่ยนทัศนคติของผมหลายๆอย่างเพราะที่สุดแล้วเราจะได้อะไรจากการเดินทางของทริปนี้มันก็ขึ้นอยู่กับเราจะให้คุณค่ากับมันและ สิ่งสำคัญจากการเดินทางมันไม่ได้อยู่ที่จุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว บางทีคุณค่าหรือความหมายของมัน มันอยู่ระหว่างการเดินทางต่างหาก ทุกสองข้างทางมีอะไรให้เราได้ค้นหาเสมอ



เขียนโดย 
 นายอัฐพล  เหล่าสักสาม  ประธานชมรมประวัติศาสตร์สัญจร  มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม






ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น