วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ออกศึกษาประวัติศาสตร์นอกห้องเรียน (ประวัติศาสตร์ อโยธยา)


      
      
        เมื่อพูดถึงเรื่องของการเดินทางมันก็คือการที่เราได้ออกไปสู่โลกกว้างการได้เห็นมุมมองใหม่ๆที่ยังไม่เคยเห็นหรืออาจจะเคยได้สัมผัสมาแล้วในมุมมองหนึ่งแต่อีกมุมมองหนึ่งมันอาจจะแตกต่างกันก็ได้ทั้งนี้ผมคิดว่ามันขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคลว่าจะให้ความหมายของสิ่งที่เห็นนั้นเป็นแบบไหน  บางคนแค่มองผ่านๆตาพอให้รู้แค่ว่าสิ่งนั้นคืออะไรแล้วก็ผ่านไป  แต่บางคนอาจจะมองมันลึกก็นั้น  บางคนมองแล้วทำให้เกิดคำถามขึ้นมาในใจมากมาย ซึ่งการที่เราได้ออกเดินทางปรับเปลี่ยนบรรยากาศชีวิตในแบบใหม่ๆจากการที่จะต้องอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยมบางทีมันก็ทำให้เรารู้สึกเบื่อๆเซ็งๆในชีวิตจนไม่คิดอยากจะทำอะไรแต่ถ้าเมื่อเราได้จับกระเป๋าขึ้นบนบ่าแล้วออกเดินทางไปที่ไหนสักแห่งเบื่อที่จะมองหาสิ่งต่างๆรอบตัวทั้งที่เราเคยเห็นแต่ก็มีสิ่งที่เรายังไม่เคยได้เห็นได้สัมผัสด้วยตัวเองอีกมากมายที่กำลังรอคอยให้เราได้ไปเรียนรู้และไปสัมผัสมันเพราะการที่เราได้ไปสัมผัสในสถานที่จริงมันจะทำให้เราได้รับบางสิ่งที่มีคุณค่ากับชีวิตของเรา  นั้นก็คือประสบการณ์   ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนก็สามารถทำมันให้เกิดขึ้นได้แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะใฝ่ฝันหามัน รึเปล่าการที่เราแค่ได้ยินจากการบอกเล่าหรืออ่านดูจากหนังสือมันก็ไม่เท่ากับการที่เราไปสัมผัสด้วยตนเองในสถานที่จริง
        กระผมก็เป็นอีกคนที่รักการเดินทางมันเป็นสิ่งที่สร้างความสุขให้กระผมได้อีกรูปแบบหนึ่งโดยเฉพาะการเดินทางไปกับคนที่เรารัก  ไปกับเพื่อน พวกพ้องที่รู้ใจกัน  มันเหมือนเป็นการให้กำไลกับชีวิตเพราะได้ไปเห็นสิ่งใหม่ๆที่เรายังไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้สัมผัส ถือว่าเป็นการเรียนรู้นอกตำราอีกรูปแบบหนึ่งที่แสนจะคุ้มค่าที่ไม่ต้องมีคำอธิบายอะไรให้มันมากมายเราก็เข้าใจสิ่งที่พบเห็นได้โดยง่ายทุกครั้งที่ผมได้ออกเดินทางโดยเฉพาะการออกค่ายจัดกิจกรรมชมรมด้วยเหตุที่ผมเป็นประธานชมรมประวัติศาสตร์สัญจรด้วยจึงเป็นหน้าที่ที่จะต้อง จัดการพาสมาชิกชมรมออกค่ายท่องเที่ยวทัศนศึกษาในสถานที่ที่มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์บางสถานที่ที่จะไปก็มีความจำเป็นที่จะต้องไปดูหรือติดต่อกับทางสถานที่ก่อนจะพาสมาชิกไปตามวันที่กำหนดไว้กระผมถือว่าเป็นกำไลเพราะการที่เราได้ไปดูงานก่อนนั้นมันทำให้เราได้ท่องเที่ยวไปด้วยและเราก็ได้ไปเที่ยวในที่แห่งนั้นตั้งสองครั้งและเราก็รู้สถานที่มีข้อมูล เมื่อเพื่อนถามเราก็สามารถแนะนำต่อสมาชิกในชมรมได้


        วัดพนัญเชิง  ป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน ก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้างและพระราชทานนามว่า วัดเจ้าพนัญเชิงวรวิหาร   มีพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารนั้นชื่อ "พระเจ้าพนัญเชิง"  พอไปถึงสิ่งแรกที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนคือป้ายชื่อของวัด ซึ่งมันช่างเป็นสิ่งที่ใหญ่โตอลังการมากพอลงจากรถเราก็มุ่งหน้าเดินเข้าไปสักการะหลวงพ่อโตกันทันทีจากนั้นก็ถ่ายรูปรอบๆบริเวณวัดอ่านประวัติของวัด ชมพุทธศิลป์ในสมัยอยุธยา  ชมสองฝั่งของเกาะอยุธยาบริเวณริมแม่น้ำยังมี ตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมากก่อสร้างเป็นตึกแบบจีนเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมากในเครื่องแต่งกายแบบจีน ชาวจีนเรียกว่า "จูแซเนี๊ย" เป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนทั่วไป ใกล้กันมี วิหารเซียน เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้น ท้าวจตุรโลกบาล เทพผู้คุ้มครองทั้ง 12 นักษัตร และเทพเจ้าต่างๆอีกด้วย

   วัดใหญ่ชัยมงคลถือว่าเป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากที่สุดท่องเที่ยวนิยมมามากที่สุด           จุดสนใจของวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ คือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ชมเจดีย์ที่สูงที่สุดในอยุธยา ด้านหลังวัดมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามากราบไหว้ นอกจากนี้ บริเวณ รอบๆ ยังมีมีสวนหย่อมที่สวยงามให้พักผ่อนอีกด้วยนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเที่ยวอยุธยาจึงไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง  และเราก็ไม่พลาดที่จะเก็บภาพเจดีย์องใหญ่ไว้ ซึ่งทำให้ผมอดนึกถึงไม่ได้ว่าในสมันอยุธยารุ่งเรื่องขนาดไหนในดานเศรษฐกิจ การปกครอง  และศาสนาซึ่งแต่ล่ะวัดในอณาจักรอยุธยาเป็นวัดที่ยิ่งใหญ่ทั่งนั้นเลย  ผมได้มีโอกาสเดินขึ้นไปเยี่ยมชมด้านบนของพระเจดีย์ด้วยข้างในเจดีย์ เป็นบ่อลึกมีอะไรสักอย่างอยู่ข้างล่าง 

        อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา หรือเขตพระราชวังในสมัยนั้นนั่นเองทางเข้าอุทยานก็เป็นตลาดขายของอยู่เต็มสองข้างทาง  ก่อนเข้าอุทยานอาจารก็ได้บรรยายให้ข้อมูลกับนักศึกษาโชคดีเราไม่ได้เสียค่าเข้าชมอุทยานเพราะเรามี อาจารอรวรรณ  เป็นผู้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ให้ทำให้เราเข้าชมอุทยานได้ฟรี  เมื่อเดินเข้าไปในอุทยานทำให้ผมได้ซึมซับถึงความรุ่งเรื่องของอยุธยาจริงๆ (ถ้าไม่มาดูด้วยตาตัวเองไม่รู้นะเนี๊ยะ)มันชั่งยิ่งใหญ่จริงๆ นี่ขนาดผ่านมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้วยังเหลือซากให้เห็นที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ เลยทำให้ผมนึกถึงว่าถ้าตัวเองอยู่ในสมัยนั้นคงได้เห็นอยุธยาที่ยิ่งใหญ่อย่างสมบูรณ์จริงๆ คิดขึ้นมาแล้วอยากย้อนเวลากลับไปจริงๆ ขณะเดินชมอุทยาน อาจารย์สมคเน แผลงฤทธิ์ ก็ให้ข้อมูลอยู่เรื่อยๆ ซึ่งลักษณะการจัดวางผังเมืองของเขตพระราชวังมันช่างคล้ายคลึงกับวัดพระแก้วจริงๆ มีพระเจดีย์องค์ประจำพระมหากษัติรย์องค์ใหญ่ตั้งอยู่  จากนั้นเราก็เดินผ่านเขตวัดเข้าสู่เขตราชวังมีพระที่นั่งต่างๆ  และอาจารย์ก็พาไปยังจุดที่จะให้ข้อมูลโดยอาจารแนะนำว่าถาเราได้มีโอกาสพานักเรียนมาทัศนศึกษาเราก็ควรพาเด็กมายังจุดนี้แล้วก็พูดบรรยาย



       วิหารพระมงคลบพิตรตั้งอยู่ใกล้กับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ และพระราชวังโบราณ ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่นามว่า พระมงคลบพิตร หรือ พระพุทธสยมภูวญาณโมฬี พระพระพุทธรูปคู่เมืองของกรุงอยุธยามาแต่โบราณประวัติการสร้างพระมงคลบพิตรไม่แน่ชัดมีปรากฏในพงศาวดารว่า แต่เดิมองค์พระประดิษฐานอยู่การแจ้ง ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2153 ได้มีกาเคลื่อนย้ายองค์พระมาประดิษฐานทางด้านตะวันตก โดยสร้างพระมณฑปครอบองค์พระไว้ ภายหลังในรัชสมัยพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 พระมณฑปได้ถูกฟ้าผ่าจนเครื่องบนหลังคาเกิดไฟไหม้และทรุดตัวลงถูกองค์พระเสียหาย แต่ไม่ทันได้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระองค์ทรงสวรรคตลงเสียก่อน

      วัดมหาธาตุเป็นวัดที่เก่าแก่และมีประวัติที่ไม่ค่อยจะชัดเจน บางฉบับบอกว่า ในปี พ.ศ. 1917 บางฉบับก็บอก พ.ศ. 1927 ได้ใช้เวลาก่อสร้างไปเป็นจำนวนมาก

  

     ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระปรางค์เคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ปรางค์ของวัดนี้เดิมทีเดียวสร้างด้วยศิลาแลง แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดังเดิม ในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่ รวมเป็นความสูง 25 วา แต่ก็ได้พังทลายลงมาอีกรอบในรัชสมัยรัชกาลที่ และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำกำลังทหารไปช่วยกันสร้างยอดพระปรางค์ด้วยไม้สักชั้นเยี่ยมและได้สถาปนาให้เป็นพระปรางค์ประจำชาติ และในที่สุด พระปรางค์วัดมหาธาตุก็ยังคงอยู่ที่นั้นตลอดไป



      เจดีย์ภูเขาทองเป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ ในวัดภูเขาทองซึ่งตั้งอยู่บริเวณกลางทุ่งนา ในเขตเกาะเมือง ของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถเห็นได้แต่ไกลจากการสันนิฐานว่า คาดว่า เจดีย์ภูเขาทอง ได้สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร เมื่อปี พ.ศ. 1930 และเมื่อปี พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองแห่งเมืองหงสาวดี ได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ จึงได้สร้างพระเจดีย์ใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดนี้ เจดีย์ที่สร้างนี้เรียกว่า "ภูเขาทอง" และวัดที่อยู่ต้ดกับเจดีย์นี้ก็เรียกว่า "วัดภูเขาทอง"   ต่อมา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้ทำการปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ใหม่ เปลี่ยนรูปจากเจดีย์มอญเป็นรูปเจดีย์ย่อไม้สิบสองที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนั้น ส่วนฐานนั้นเป็นศิลปมอญอยู่  


        การศึกษาในครั้งนี้ทำให้ผมเกิดจิตสำนึกรักความเป็นไทยมากขึ้นและเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์ในทุกวันนี้เหลือแค่เพียงเรื่องเล่าเท่านั้นในขณะที่หลักฐานต่างๆเริ่มสูญหายไปโดยขาดการบูรณะและละเลยไม่เห็นความสำคัญของคนแล้วในอนาคตสืบทอดเรื่องราวเหล่านี้ให้กับคนรุ่นหลังได้อย่างไร   จากการเดินทางในครั้งนี้ได้เปลี่ยนทัศนคติของผมหลายๆอย่างเพราะที่สุดแล้วเราจะได้อะไรจากการเดินทางของทริปนี้มันก็ขึ้นอยู่กับเราจะให้คุณค่ากับมันและ สิ่งสำคัญจากการเดินทางมันไม่ได้อยู่ที่จุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว บางทีคุณค่าหรือความหมายของมัน มันอยู่ระหว่างการเดินทางต่างหาก ทุกสองข้างทางมีอะไรให้เราได้ค้นหาเสมอ



เขียนโดย 
 นายอัฐพล  เหล่าสักสาม  ประธานชมรมประวัติศาสตร์สัญจร  มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม






วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

หลักการเขียนรายงาน และการเขียนอ้างอิงที่ดี


รายงานที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้ 


        1.รูปเล่ม  ประกอบด้วยหน้าสำคัญต่าง ๆ ครบถ้วน  การพิมพ์ประณีตสวยงาม  การจัดย่อหน้าข้อความเป็นแนวตรงกันใช้ตัวอักษรรูปแบบ (Font) เดียวกันทั้งเล่ม  จัดตำแหน่งข้อความและรูปภาพได้สอดคล้องสัมพันธ์ และอ่านง่าย
        2. เนื้อหา  เป็นการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าที่น่าสนใจของผู้เขียน    แสดงถึงข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง  เป็นปัจจุบันทันสมัย   ครอบคลุมเรื่องได้อย่างสมบูรณ์  แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งของผู้เขียน   นอกจากแสดงความรู้ในข้อเท็จจริงแล้ว ผู้เขียนควรแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์  นำเสนอความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ๆ ทรรศนะ            ใหม่ๆหรือแนวทางแก้ปัญหาในเรื่องที่กําลังศึกษาอยู่ ด้วยการเรียบเรียงเนื้อหาเป็นไปตามลำดับไม่ซ้ำซากวกวนแสดงให้เห็นความสามารถในการกลั่นกรอง  สรุปความรู้และความคิดที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ
        3. สำนวนภาษา  เป็นภาษาที่นิยมโดยทั่วไป   สละสลวย  ชัดเจน  มีการเว้นวรรคตอน สะกดการันต์ถูกต้อง  ลำดับความได้ต่อเนื่อง  และสัมพันธ์กันตลอดเรื่อง
        4.  การอ้างอิงและบรรณานุกรมถูกต้องตามแบบแผน   มีการแสดงหลักฐานที่มาของข้อมูลอย่างถูกต้องละเอียดถี่ถ้วน  เมื่อกล่าวถึงเรื่องใดก็มีหลักฐานอ้างอิงเพียงพอและสมเหตุสมผล     เลือกใช้ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้   ซึ่งการแสดงหลักฐานอ้างอิงและบรรณานุกรมจะบ่งบอกถึงคุณภาพทางวิชาการของรายงานนั้น


การทำรายงานให้ประสบความสำเร็จ  ควรวางแผนดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้


        1. กำหนดเรื่อง
การกำหนดเรื่องที่จะทำรายงาน  ต้องเกิดจากความต้องการอยากรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรเป็นเรื่องที่นักศึกษาสนใจ    หรือมีความรู้ในเรื่องนั้นอยู่บ้างแล้ว    ขอบเขตของเรื่องไม่ควรกว้างหรือแคบเกินไป   เพราะถ้ากว้างเกินไปจะทำให้เขียนได้อย่างผิวเผิน หรือถ้าเรื่องแคบเกินไปอาจจะไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะเขียนได้   ในการกำหนดเรื่องควรคิดโครงเรื่องไว้คร่าว ๆ  ว่าจะมีเนื้อหาในหัวข้อใดบ้าง 
        2. สำรวจแหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลเบื้องต้นควรเริ่มที่ห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต  ในการสำรวจควรใช้เครื่องมือที่แหล่งนั้นจัดเตรียมไว้ให้ เช่นห้องสมุดควรใช้  บัตรรายการ  บัตรดัชนีวารสาร  และ โอแพค (OPAC)  เป็นต้น  การค้นทางอินเทอร์เน็ตควรใช้เว็บไซต์ Google, Yahoo เป็นต้น  นักศึกษาต้องเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือและคำสั่งในการสืบค้นให้เข้าใจดีเสียก่อน  จึงจะช่วยให้ค้นคว้าได้รวดเร็วและได้เนื้อหาสาระที่ครบถ้วน     เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วจะต้องจัดเก็บรวบรวมให้เป็นระบบ  เป็นหมวดหมู่    เอกสารที่รวบรวมได้ทุกรายการต้องเขียนบรรณานุกรมบอกแหล่งที่มาไว้ด้วย  เพื่อใช้ค้นคืนไปยังแหล่งเดิมได้อีกในภายหลัง
         3.กำหนดโครงเรื่อง
การกำหนดโครงเรื่อง เป็นการกำหนดขอบข่ายเนื้อหาของรายงานว่าจะให้มีหัวข้อเรื่องอะไรบ้าง  โครงเรื่องที่ดีจะต้องมีสาระสำคัญที่ตอบคำถาม  5W1H ได้ครบถ้วน  กล่าวคือ เนื้อหาของรายงานควรตอบคำถามต่อไปนี้ได้   เช่น     ใครเกี่ยวข้อง (Who)  เป็นเรื่องอะไร (What)  เกิดขึ้นเมื่อไร (When)  ที่ไหน (Where)   ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น--เพราะเหตุใด (Why)   เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือมีวิธีทำอย่างไร (How) 
การคิดโครงเรื่องอาจใช้ผังความคิด (Mind map) ช่วยในการกำหนดประเด็นหัวข้อใหญ่หัวข้อรอง   ส่วนการจัดเรียงหัวข้อให้มีความสัมพันธ์เป็นลำดับต่อเนื่องที่ดี อาจใช้ผังความคิดแบบก้างปลา (Fish bone diagram) หรือแบบต้นไม้ (Tree diagram)   จะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของแนวคิดได้ง่ายขึ้น    การตั้งชื่อหัวข้อควรให้สั้นกระชับได้ใจความครอบคลุมเนื้อหาในตอนนั้น ๆ
        4. รวบรวมข้อมูลตามโครงเรื่อง 
เมื่อกำหนดโครงเรื่องแน่ชัดดีแล้ว  จึงลงมือสืบค้นและรวบรวมข้อมูลตามบรรณานุกรมที่รวบรวมไว้ในขั้นตอนการสำรวจ     การรวบรวมอาจจะถ่ายเอกสารจากห้องสมุด หรือพิมพ์หน้าเอกสารที่ค้นได้จากอินเทอร์เน็ต  เสร็จแล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาแยกตามหัวข้อเรื่องที่กำหนดไว้
         5. อ่านตีความ สังเคราะห์ข้อมูล และจดบันทึก
การอ่านให้เน้นอ่านจับใจความสำคัญของเรื่อง  เพื่อดึงเนื้อหาที่สอดคล้องกับประเด็น แนวคิดต่างๆ ตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้   ทำการบันทึกเนื้อหาลงในบัตรบันทึก เสร็จแล้วนำบัตรบันทึกมาจัดกลุ่มตามประเด็นแนวคิด เพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหาของรายงานต่อไป    หรืออาจทำเครื่องหมายตรงใจความสำคัญ (ขีดเส้นใต้) แทนการทำบัตรบันทึก  (กรณีเป็นหนังสือของห้องสมุดไม่ควรขีดเขียนหรือทำเครื่องหมายใดๆ)
       6.เรียบเรียงเนื้อหา 
เนื้อหาสาระที่นำมาเรียบเรียงต้องเป็นเนื้อหาที่ได้จากการประเมิน วิเคราะห์ และสังเคราะห์จากขั้นตอนที่ 5มาแล้ว (การวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ   สามารถศึกษาและฝึกปฏิบัติได้ในรายวิชาสารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า)

ส่วนประกอบของรายงาน

รายงานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือ
 1) ส่วนนำเรื่อง ได้แก่ ปกนอก  ปกใน  คำนำ สารบัญ
 2) ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย บทนำ  เนื้อเรื่อง และบทสรุป 
 3) ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วยรายการอ้างอิง บรรณานุกรม  และ 
 4) ภาคผนวก  ซึ่งแต่ละส่วนควรมีสาระสำคัญดังนี้


ความหมายของบรรณานุกรม

        บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน  โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง

จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม

                1.  ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล  มีสาระน่าเชื่อถือ
                2.  เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
                3.  เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมโดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้นๆ
                4.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้

วิธีเขียนบรรณานุกรม
 การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ  ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลจากหน้าปกใน และด้านหลังของหน้าปกใน ของหนังสือเล่มที่บันทึกข้อมูลมาเขียนบรรณานุกรม  การเขียนบรรณานุกรมจากวารสาร นำข้อมูลจากหน้าปก ของวารสารฉบับที่บันทึกข้อมูล มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือพิมพ์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากสื่ออีเล็กทรอนิกส์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของเว็บเพจมาเขียนบรรณานุกรม    ดังนี้
                1.  เขียนไว้ในส่วนท้ายของรายงาน
                2.  เขียนเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยก่อน
                3.  บรรทัดแรกของบรรณานุกรมชิดด้านซ้ายที่เว้นจากขอบกระดาษเข้ามา  1.5 นิ้ว  ถ้ายังไม่จบ เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามาประมาณ  7  ช่วงตัวอักษรของบรรทัดแรก  ให้เขียนตรงกับช่วงตัวอักษรที่  8
                4.  รายละเอียดในโครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ   มีดังนี้

1. โครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ


 1.1  การอ้างถึงชื่อผู้แต่ง           1.1.1  ผู้แต่งคนเดียว

           1.1.2  ผู้แต่ง  2  คน ให้ใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2

           1.1.3  ผู้แต่ง  3  คน  ให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2  และใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  2  กับคนที่  3

           1.1.4  ผู้แต่งตั้งแต่  3  คนขึ้นไป  ลงเฉพาะชื่อแรก  และตามด้วยคำว่า  และคนอื่น ๆ

           1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง

           1.1.6  ผู้แต่งใช้นามแฝง  ให้ใช้นามแฝงได้เลย

           1.1.7  หนังสือแปล  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุลของผู้แต่ง ก่อนผู้แปล

           1.1.8  ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุล  ตามด้วยบรรดาศักดิ์

1.2  รูปแบบของบรรณานุกรมหนังสือ 
           รูปแบบของบรรณานุกรม  มี  2  แบบ
           1.2.1  การอ้างอิงแยกจากเนื้อหาอยู่ท้ายของรายงาน  
                     1)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ในหนังสือเล่มเดียวจบ    ให้ใส่ชื่อบท หรือตอน  ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  และระบุหน้า  เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์


                     2)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ของหนังสือบางเล่มที่มีหลายเล่มจบ ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  ระบุเล่ม  และหน้าตามด้วยเลขหน้าที่อ้างอิง เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

                     3)  การอ้างอิงตลอดทุกเล่มที่มีหลายเล่มจบ  ให้ระบุจำนวนเล่ม ตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

                     4)  การอ้างอิงเพียงเล่มใดเล่มหนึ่ง  ให้ระบุเล่มที่อ้างอิงตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

           1.2.2  การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา                     1)  เมื่อต้องการจะแทรกในเนื้อหาสามารถแทรกวงเล็บพร้อมกับอ้างอิงได้ทันที  เมื่อจบข้อความ                          1.1)  รายการอ้างอิง  ประกอบด้วย  ชื่อ  นามสกุลผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.2)  หากไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อหน่วยงานแต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.3)  หากไม่ระบุปีที่พิมพ์  และเลขหน้า  ให้ใช้ตัวอักษรย่อ  “ม.ป.ป.”  ย่อมาจากคำว่า  ไม่ปรากฏเลขหน้า  และระบุคำว่า  ไม่มีเลขหน้าลงไปได้เลย

                     2)  ถ้าระบุชื่อผู้แต่งลงในเนื้อหาแล้วอ้างต่อทันทีในวงเล็บ  ไม่จำเป็นต้องระบุ ชื่อผู้แต่งซ้ำอีก

                     ยกเว้นผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติ

                     3)  การอ้างถึงเอกสารที่ไม่สามารถค้นหาต้นฉบับจริงได้  ให้อ้างจากเล่มที่พบ  ใช้คำว่า  “อ้างถึงใน”  หากเป็นบทวิจารณ์  ใช้คำว่า  “วิจารณ์ใน”

                     4)  การอ้างถึงเฉพาะบท  ใช้คำว่า  “บทที่”

                     5)  การอ้างถึงตาราง  ในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูตารางที่”  การอ้างถึงภาพในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูภาพที่”

2. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมวารสาร

    2.1  การเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสาร  มีปีที่  และฉบับที่

    2.2  บทความในวารสาร  ที่ไม่มีปีที่  ออกต่อเนื่องทั้งปี

3. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์

    3.1  การเขียนบรรณานุกรมบทความในหนังสือพิมพ์

    3.2   การเขียนบรรณานุกรมข่าวจากหนังสือพิมพ์  ให้เขียนหัวข่าว

    3.3  การเขียนบรรณานุกรมจากคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์

4. รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์  (Online) หรืออินเทอร์เน็ต
    4.1  เว็บเพจ มีผู้เขียน  หรือมีหน่วยงานรับผิดชอบ

    4.2  เว็บเพจไม่ปรากฏผู้เขียน  และปีที่จัดทำ ใส่  ม.ป.ป.  (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)



รายงานทางวิชาการที่ดี  จะพิจารณากันที่  รูปเล่ม  เนื้อหา  การเขียนอธิบายความชัดเจน  เข้าใจง่าย   มีการแสดงหลักฐานอ้างอิงและบรรณานุกรม ที่มาของข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ถูกต้องตามแบบแผน   ดังนั้น การประเมินคุณค่าของรายงานจึงพิจารณาที่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้ของผู้ทำรายงาน รายงานที่ดีจะต้องแสดงเนื้อหาสาระข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง   แสดงความคิดหรือทัศนะของผู้เขียนอย่างมีเหตุผล  และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ต้องเป็นผลงานที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาเอง  ซึ่งมิใช่ผลงานที่คัดลอกจากผู้อื่น  



ขอบคุณข้อมูลจาก


-http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit5_part13.htm
-http://www.pramot.com/main/index.php/education-corner/165-bibliography
-http://blog.eduzones.com/jybjub/15711

วิดีโอแสดงถึงการดำดงชีวิตของชาวเกาหลีเหนือ

 วิดีโอวิถีชีวิตของชาวเกาหลีเหนือ ซึ่งมีความน่าสนใจมาก ท่านลองสังเกตุและเปรียบเทียบดูสิว่า การใช้ชีวิตภายใต้การปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ แตกต่างกันอย่างไรกับการใช้ชีวิตทีทำอะไรแบบอำเภอใจตามระบอบประชาธิปไตรอย่างพวกเรา


ขอบคุณข้อมูลจาก

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์อินเดีย ในยุคราชวงศ์


อารยธรรมอินเดียสมัยเมาริยะ

     ช่วง 322-184 ก่อนคริสตศักราช เป็นสมัยจักรวรรดิเมาริยะที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย โมริยะ หรือเมารยะ ยึดแค้วนมคธ แล้วขยายอาณาจักรไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตก ภาคเหนือ ใต้  มีการติดต่อค้าขายกับเอเชียไมเนอร์ กรีก เมโสโปเตเมีย   มีกษัตริย์องค์แรกคือพระเจ้าจันทรคุปต์  กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงคือ พระเจ้าอโศกมหาราช ( 273-236 ก่อนคริสตศักราช)ทรงมีอำนาจสูงสุดในการบริหารราชการ ตรากฎหมาย การศาล การทหาร สมัยนี้มีการสร้างถนนเชื่อมภาคตะวันตกเฉียงเหนือ  กับกรุงปาฏลีบุตร ทำสำมะโนประชากร   ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชได้หันมานับถือศาสนาพุทธ และทรงเป็นองค์อุปถัมภ์และเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่สำคัญ ศิลปะอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาจึงเริ่มเจริญรุ่งเรืองในสมัยของพระองค์ เช่น สถูปต่างๆ  ทรงให้มีการจารึกบนเสาหินที่ตั้งอยู่ตามดินแดนต่างๆเป็นหลักของศีลธรรมที่สอดคล้องกับทุกศาสนา เรียก หัวเสาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช


  • จักรวรรดิเมาริยะ
    แผนที่จักรวรรดิเมาริยะ

    จักรวรรดิเมาริยะ3
    การรบของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์กับพระเจ้าเปารวะ

    อารยธรรมอินเดียสมัยกุษาณะ

         ต่อมา ค.ศ. ที่ 1 พวกกุษาณะผู้เร่ร่อนปกครองตอนเหนืออินเดียมีกษัตริย์ที่สำคัญคือ พระเจ้ากนิษกะปกครองดินแดนที่เรียกว่าแคว้นคันธาระ ราชวงศ์ดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลกรีก ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านการสร้างประติมากรรมรูปเทพเจ้า ทำให้เกิดการสร้างพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ตามคตินิกายมหายาน โดยพระพุทธรูปในระยะแรกเริ่มนี้จะมีลักษณะเหมือนจริงตามธรรมชาติ  ศิลปะภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์กุษาณะนี้เรียกว่า ศิลปะคันธาระ นอกจากนี้ยังทรงนับถือพุทธนิกายมหายาน  โปรดให้จารึกคำสอนของพระพุทธองค์ลงบนแผ่นทองแดง 
    จักรวรรดิกุษาณะ
    แผนที่จักรวรรดิกุษาณะ

    จักรวรรดิกุษาณะ2

    ศิลปะคันธาระ

    อารยธรรมอินเดียสมัยคุปตะ    

            สมัยจักรวรรดิคุปตะ (ค.ศ.320-535) ถือว่าเป็นยุคทองของฮินดูทางตอนเหนือ ต้นคริสต์ศตวรรษทที่ 4 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ตั้งราชวงศ์คุปตะที่เมืองปัตลีบุตร โอรสของพระองค์ ชื่อ พระเจ้าสมุทรคุปต์ ทรงขยายดินแดนออกไปกว้างไกล ทรงทำเหรียญทองสลักเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ แล้วนำไปไว้ที่เสาหินของพระเจ้าอโศก ราชวงศ์    คุปตะรุ่งเรืองมากในสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ ที่ 2 (ค.ศ.376-415) เพราะทรงรวมดินแดนตะวันออกและทางเหนือไว้ในอำนาจ  ทรงสนับสนุนศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี กวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ คือ กลิทัษ การปกครองสมัยคุปตะเป็นแบบกระจายอำนาจไปตามท้องถิ่น มีการค้าขายมากขึ้นกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และประเทศไทย พ่อค้าที่ร่ำรวยนิยมบริจาคเงินเพื่อสร้างงานสำคัญทางศาสนา เช่น สถูปที่สาญจี อมาราวาตี ฯลฯ ภาษาสันสกฤตกลายเป็นภาษาของผู้รู้หนังสือและเป็นภาษาที่ใช้ในราชการ

    จักรวรรดิคุปตะ1
    แผนที่จักรวรรดิคุปตะ

    จักรวรรดิคุปตะ
    พระเจ้าจันทรคุปต์


    จักรวรรดิคุปตะ4
    มหาวิทยาลัยนาลันทา








    ขอบคุณข้อมูลจาก

    http://supawann096.wordpress.com อารยธรรมอินเดียสมัยต่างๆ