อารยธรรมอินเดียสมัยเมาริยะ
ช่วง 322-184 ก่อนคริสตศักราช เป็นสมัยจักรวรรดิเมาริยะที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย โมริยะ หรือเมารยะ ยึดแค้วนมคธ แล้วขยายอาณาจักรไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตก ภาคเหนือ ใต้ มีการติดต่อค้าขายกับเอเชียไมเนอร์ กรีก เมโสโปเตเมีย มีกษัตริย์องค์แรกคือพระเจ้าจันทรคุปต์ กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงคือ พระเจ้าอโศกมหาราช ( 273-236 ก่อนคริสตศักราช)ทรงมีอำนาจสูงสุดในการบริหารราชการ ตรากฎหมาย การศาล การทหาร สมัยนี้มีการสร้างถนนเชื่อมภาคตะวันตกเฉียงเหนือ กับกรุงปาฏลีบุตร ทำสำมะโนประชากร ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชได้หันมานับถือศาสนาพุทธ และทรงเป็นองค์อุปถัมภ์และเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่สำคัญ ศิลปะอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาจึงเริ่มเจริญรุ่งเรืองในสมัยของพระองค์ เช่น สถูปต่างๆ ทรงให้มีการจารึกบนเสาหินที่ตั้งอยู่ตามดินแดนต่างๆเป็นหลักของศีลธรรมที่สอดคล้องกับทุกศาสนา เรียก หัวเสาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
-
แผนที่จักรวรรดิเมาริยะการรบของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์กับพระเจ้าเปารวะ
อารยธรรมอินเดียสมัยกุษาณะ
ต่อมา ค.ศ. ที่ 1 พวกกุษาณะผู้เร่ร่อนปกครองตอนเหนืออินเดียมีกษัตริย์ที่สำคัญคือ พระเจ้ากนิษกะปกครองดินแดนที่เรียกว่าแคว้นคันธาระ ราชวงศ์ดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลกรีก ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านการสร้างประติมากรรมรูปเทพเจ้า ทำให้เกิดการสร้างพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ตามคตินิกายมหายาน โดยพระพุทธรูปในระยะแรกเริ่มนี้จะมีลักษณะเหมือนจริงตามธรรมชาติ ศิลปะภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์กุษาณะนี้เรียกว่า ศิลปะคันธาระ นอกจากนี้ยังทรงนับถือพุทธนิกายมหายาน โปรดให้จารึกคำสอนของพระพุทธองค์ลงบนแผ่นทองแดงแผนที่จักรวรรดิกุษาณะศิลปะคันธาระ
อารยธรรมอินเดียสมัยคุปตะ
สมัยจักรวรรดิคุปตะ (ค.ศ.320-535) ถือว่าเป็นยุคทองของฮินดูทางตอนเหนือ ต้นคริสต์ศตวรรษทที่ 4 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ตั้งราชวงศ์คุปตะที่เมืองปัตลีบุตร โอรสของพระองค์ ชื่อ พระเจ้าสมุทรคุปต์ ทรงขยายดินแดนออกไปกว้างไกล ทรงทำเหรียญทองสลักเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ แล้วนำไปไว้ที่เสาหินของพระเจ้าอโศก ราชวงศ์ คุปตะรุ่งเรืองมากในสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ ที่ 2 (ค.ศ.376-415) เพราะทรงรวมดินแดนตะวันออกและทางเหนือไว้ในอำนาจ ทรงสนับสนุนศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี กวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ คือ กลิทัษ การปกครองสมัยคุปตะเป็นแบบกระจายอำนาจไปตามท้องถิ่น มีการค้าขายมากขึ้นกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และประเทศไทย พ่อค้าที่ร่ำรวยนิยมบริจาคเงินเพื่อสร้างงานสำคัญทางศาสนา เช่น สถูปที่สาญจี อมาราวาตี ฯลฯ ภาษาสันสกฤตกลายเป็นภาษาของผู้รู้หนังสือและเป็นภาษาที่ใช้ในราชการ
แผนที่จักรวรรดิคุปตะพระเจ้าจันทรคุปต์มหาวิทยาลัยนาลันทาขอบคุณข้อมูลจาก
http://supawann096.wordpress.com อารยธรรมอินเดียสมัยต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น